
หลักประกันสุขภาพและทางออกที่ควรจะเป็น
เมื่อวันที่ 16 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 โรงแรมฮอลิเดย์การ์เด้น ถนนห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม ในงาน “เวทีรณรงค์ สาธารณะ ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในระบบหลักประกันสุขภาพและทางออกที่ควรจะเป็น” ร่วมจัดและสนับสนุนโดย เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) เครือข่ายผู้มีปัญหาสถานะบุคคล มูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์ (พชช.) องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท./IMPECT) สมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ (สสช.) ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (CPCR) บางกอกคลินิกนิติธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์(WISE) เครือข่ายเยาวชนชาติพันธุ์เพื่อการพัฒนา (EYDN) มูลนิธิพัฒนานานาเผ่าไร้พรมแดน (EPDF) เพื่อรับทราบสถานการณ์ ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องการทบทวนผู้ทรงสิทธิรับบริการสาธารณสุขและเห็นความจำเป็นและความสำคัญของการทบทวนผู้ทรงสิทธิรับบริการสาธารณสุข ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้รับข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อทบทวนการนิยามผู้ทรงสิทธิรับบริการสุขภาพในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เสนอให้กับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พิจารณาในเรื่องทบทวนการนิยามผู้ทรงสิทธิ

อาจารย์ชูพินิจ เกษมณี ที่ปรึกษาเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) ผู้อาวุโสสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (สชพ.) ได้มีการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมทุกท่าน
“ประเด็นที่เราจะพูดคุยในวันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ความเป็นมนุษย์ต้องมาก่อนความเป็นพลเมือง การมีศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญ ในประเทศไทยไม่มีการศึกษาด้านมนุษยชน Education for Human rights. การไม่มีสถานะบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ขาดสิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิในด้านอื่น ๆ รวมถีงสิทธิในด้านการเมือง”
วีดิทัศน์เรื่อง ความเหลือมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในระบบปลักประกันสุขภาพ
วีดิทัศน์ ได้นำเสนอเกี่ยวกับ สภาพปัญหาของการใช้สิทธิด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเฉพาะชาวบ้านที่ไม่มีสถานะบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมย การให้บริการสาธารณสุข ตามมาตรา 5 ในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จะครอบคลุมแค่ ประชาชนคนไทยที่เป็นคนไทยที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ มีประชาชนที่ขาดสิทธิตาม พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 5 ถึงประมาณ
950,000 คน
นำเสนอ เสียงกระซิบ ลมหายใจจากกลุ่มที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ดำเนินรายการโดย นายสุมิตร วอพะพอ ผู้จัดการงานด้านการขับเคลื่อนนโยบายและผู้จัดการโครงการสถานบุคคล องค์กรแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

นางสาวพรทิพทย์ รุ่งเรือง เป็นรองประธานเยาชนชาติพันธุ์เพื่อการพัฒนา (EYDN) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ เป็นบุคคลไร้รากเหง้า อดีตเป็นเด็ก G พัฒนาสถานะจนได้เลขประจำตัว 13 หลัก โดยกล่าวถึงสถานการณ์ปัญหา ไม่กล้าที่จะเจ็บป่วย ไม่กล้าที่จะไปรับการรักษาจากโรงพยาบาลของรัฐ จึงตัดสินใจไปรับบริการจากคลินิคเอกชน แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลของรัฐ ปัญหาก็คือ ต้องจ่ายค่ารักษาด้วยตัวเอง ดังนั้น ทุกครั้งเมื่อรู้สึกป่วย ก็จะพยายามรักษาด้วยสมุนไพร หรือซื้อยากินเอง
เด็กกลุ่ม G ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนคืนสิทธิ์ และถึงแม้จะมีหมายเลข 13 หลัก การจะได้กองทุนคืนสิทธิ ก็ต้องมีการสมัครในหลักประกันสุขภาพ
ช่วงที่โควิด 19 ระบาด นางสาวพรทิพย์ ไม่ได้รับโอกาสในการฉีดวัคซีนโควิด 19 ไม่สามารถเดินทางออกนอกชุมชน เพราะไม่มีใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด เมื่อจำเป็นต้องเดินทาง ต้องใช้วิธีตรวจร่างกายเพื่อหาเชื้อโควิด 19 แต่ต้องจ่ายค่าตรวจโควิด 19 จำนวน 2,700 บาท เขาไม่มีเงินจ่าย จึงเดินออกจากโรงพยาบาลและใบตรวจสุขภาพโดยที่ไม่ได้จ่ายค่าตรวจร่างกาย

นางสาวแอร์ ไชยวงศ์ กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ คุณครูไร้สัญชาติ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ความผิดพลาดจากการรักษาพยาบาลของลูกครูแอร์ คลอดก่อนกำหนด จนลูกต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง มีการให้ยานอนหลับก่อนเจาะไขกระดูก เมื่อการรักษาผิดพลาด เขามีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยา ซึ่งกรณีนี้ ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลตามบัตรทอง

คุณจิราพร นวลดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการจากโรงพยาบาลแม่อาย ทางโรงพยาบาล มีการรักษาดูแลเหมือนกัน ผู้ทรงสิทธิ มาตรา 5 ใน พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เท่าเทียมกับสิทธิบัตรทอง ได้กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหา บางครั้งโรงพยาบาลเตียงเต็ม เครื่องมือไม่เพียงพอ คนไข้ต้องไปรับการรักษาของโรงพยาบาลเอกชน และไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามสิทธิ์ได้ ไม่มีกองทุน มาตรา 41 ค่าหัวได้ไม่คงที่ แนวโน้มงบประมาณในส่วนนี้ลดลงทุกปี
บทบาท สสส. กับการขับเคลื่อนนโยบายสร้างเสริมสุขภาพสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล

นายพิทยา จินาวัฒน์ รองประธานกรรมการกำกับทิศทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้มีปัญหาสถานะบุคคลและประชากรข้ามชาติ (สำนัก 9) สสส. แนวคิด นโยบายและแนวปฎิบัติในเรื่องสถานบุคคลและสิทธิด้านสุขภาพของกลุ่มที่มีปัญหาสถานะบุคคลในประเทศต่าง ๆ
กลุ่มแนวคิด 3 กลุ่ม
- อุดมคติ = คนทุกคน ล้วนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต้องเข้าถึงสิทธขั้นพื้นฐาน
เน้นหลักสิทธิมนุษยชนสากลและหลักมนุษยธรรม มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีความเป็นประชาธิปไตย ภาคประชาสังคมเข้มแข็ง - แนวคิดที่พลวัตเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ เป็นสมาชิกประชาคมโลกหลักสิทธิมนุษยชนสากลนำ ตามด้วยความมั่นคง และผลประโยชน์ของรัฐ
- ให้ความสำคัญของคนที่มีสัญชาติของรัฐเท่านั้น เพราะได้ต่อสู้ร่วมกัน สร้างบ้านมาร่วมกัน เน้นหลักความมั่นคงฯ และผลประโยชน์ของรัฐ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ สสส.
วิสัยทัศน์ ทุกคนบนแผ่นดินไทยมีวิถีชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการมีสุขภาวะที่ดี
พันธกิจ จุดประกาย กระตุ้น สานและเสริมพลังบุคคล ชุมชนและองค็กรทุกภาคส่วนให้มีความสามารถและสร้างสรรค์ระบบสังคมที่สนับสนุนต่อการมีสุขภาวะที่ดี
ยุทธศาสตร์
1. พัฒนาข้อมูลวิชาการ ฐานข้อมูลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย
2. พัฒนาและขับเคลื่อนกฎหมายและนโยบายที่สนับสนุนการเข้าถึงสิทธิสุขภาพและหลักประกันทางสังคม
3. สนับสนุนและส่งเสริมความเข้มแข็งของแกนนำเครือข่าย
4. สนับสนุนนวัตกรรมและสื่อสารลดอคติต่อกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันพื้นที่สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์
ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความจำเป็นและความสำคัญของการทบทวนนิยามผู้ทรงสิทธิรับบริการสาธารณสุข” ตามมาตรา 5 ในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชรติ พ.ศ. 2545

สรุปเนื้อหาสำคัญ ที่ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ ได้แลกเปลี่ยน
⦁ พ.ร.บ. สปสช. ประกาศเมื่อปี 2545 ก่อนหน้านั้น ชาวเขาได้รับการดูแลโดย สสจ. โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้ จำกัดอำนาจตัวเอง ดูแลเฉพาะคนที่มีสัญชาติไทย
⦁ การเอา พ.ร.บ.คนเข้าเมือง มาผลักดันให้เด็กออกจากระบบการศึกษา และระบบสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
⦁ การตีความใหม่ ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ต่อการคุ้มครอง “ประชากรที่ไม่มีสัญชาติไทย” ให้เข้าถึง “หลักประกันสุขภาพ” ได้มีการตีความใหม่ ตั้งแต่ 26 พฤษภาคม 2565
⦁ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
มาตรา 5 บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการอาจกำหนดให้บุคคลที่เข้ารับการบริการสาธารณสุขต้องร่วมจ่าย ค่าบริการในอัตราที่กำหนดให้แก่หน่วยบริการในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบริการ เว้นแต่ผู้ยากไร้หรือ บุคคลอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไม่ต้องจ่ายค่าบริการ
⦁ สัญชาติ เป็นของมนุษย์ ไม่ต้องขอจากรัฐ สิทธิในสัญชาติไทย กับสถานะในสัญชาติไทยไม่เหมือนกัน
มีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิด
⦁ เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพ โดยหลักสากล รัฐ ต้องทำหน้าที่ให้กับหลักประกันสุขภาพ
⦁ บุคคลเงื่อนไขของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือ คนที่กลมกลืนแล้วกับประเทศไทย
⦁ สิทธิในหลักประกันสุขภาพ มี 3 ระดับ 1.ระดับที่ไม่ต้องจ่าย 2.ระดับที่ต้องจ่ายแพงหรือถูก 3.ระดับที่ไม่ต้องจ่ายเพราะยากไร้ ต้องคำนึกงถึงสิทธิรักษาพยาบาลจนถึงที่สุด และสิทธิในการับรองสุขภาพดี ถ้าพูดถึงสุขภาพดี ก็ต้องสุขภาพดีในมาตรฐานเดียวกัน
⦁ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง 2470 ต้อนรับแรงงานต่างด้าวจากประเทศไทย ใบสำคัญแสดงรูปพรรณ และต่อมามีการแปลงสัญชาติเป็นไทย
เสวนาสาธารณะเรื่อง “สถานการณ์และมุมมองในการแก้ไขปัญหาเรื่องการทบทวนนิยามผู้ทรงสิทธิรับบริการสาธารณสุข ตามมาตรา 5 ในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชรติ พ.ศ. 2545

กรรมการมูลนิธิ พชช.
เสวนาสาธารณะเรื่อง “สถานการณ์และมุมมองในการแก้ไขปัญหาเรื่องการทบทวนนิยามผู้ทรงสิทธิรับบริการสาธารณสุข ตามมาตรา 5 ในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชรติ พ.ศ. 2545 ดำเนินรายการโดย นายสุมิตรชัย หัตถสารมีความพยายามที่จะตีความหมาย นิยามผู้ทรงสิทธิ ให้ครอบคลุมทุกคน พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 5 ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิ จึงต้องมีการทบทวน และหาทางออกร่วมกัน

นายวิวัฒน์ ตามี่ ผู้แทนเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คทช.) ได้พูดถึง สถานการณ์ “คนไทย มีสัญชาติไทยหรือเปล่า)
⦁ ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพที่ดีที่สุดในระดับหนึ่งในโลก
⦁ คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ผู้ทรงสิทธิในมาตรา 5 ใครคือคนได้สิทธิ แต่คนที่ไม่มีสัญชาติไทยถูกปลดสิทธิออกไป จะรับรองสิทธิเฉพาะบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น
ข้อสงสัย
⦁ โจทน์ที่ให้คณะกรรมการกฤฏษีกาตีความไม่เกี่ยวกับเราเลย
⦁ ผู้ไม่มีสถานุบคุคลได้มีโอกาสโต้แย้งหรือไม่3.
⦁ คณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่ใช่ศาล หรือคณะกรรมการแก้ไขข้อพิพาท คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพไม่สามารถาอ้างถึงผลการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้
ปัญหาและข้อจำกัด
⦁ ความไม่ยั่งยืนของกองทุนคืนสิทธิ์ฯ
⦁ ความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันของกองทุน
⦁ ชุดสิทธิประโยชน์ไม่สามารถพัฒนาให้เท่ากันกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้
⦁ แนวโน้มจำนวนประชากรผู้มีปัญหาสถานะบุคคลลดลง และเงินอุดหนุนก็ลดลง
ข้อกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่สามารถสนับสนุนความเป็นไปได้ของผู้ทรงสิทธิ์
⦁ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2560 หมวด 3
⦁ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
⦁ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2552 เห็นชอบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
⦁ มติสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2564
⦁ แนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อการจัดบริการขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้กับบุคลากรฯ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564
⦁ ปฏิญญา อนุสัญญา หลายฉบับที่รัฐไทยได้ลงนามและเกิดพันธกรณีและจะต้องนำมาปฏิบัติ เช่น ICERD, ICCPR, CRC เป็นต้น

ในเรื่องที่เป็นมติจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ทางคุณหมอฯ จะพยายามผลักดันที่จะให้ใช้งบประมาณสำหรับกลุ่มไร้สัญชาติไทย ให้มีจัดชุดสิทธิประโยชน์เหมือนกันกับสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพ หรือหากไม่สามารถเอาประชากรมารวมกันได้ อาจจะต้องหางบประมาณเพื่อให้มีงบประมาณใกล้เคียงกัน ซึ่งจะต้องไปพูดคุยกับกองเศรษฐกิจฯ รวมถึง สิทธิประโยชน์การคุ้มครองสิทธิ์ ตาม มาตรา 41
ในส่วนของ สปสช. จะรับข้อเสนอจากที่ประชุม เพื่อนำเสนอต่อไปยังผู้บริหารฯ ในการตีความ และต้องอาศัยมติคณะรัฐมนตรี จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

⦁ กองเศรษฐกิจฯ รับผิดชอบ กองทุนประกันสังคม กองทุนส่วนกลางราชการ กองทุนไร้รัฐ กองทุนต่างด้าว
⦁ การลงทะเบียนกลุ่มไร้รัฐ ภายใน 100 วัน โปรแกรม Health Insurance for Non-Thai people system.
⦁ จำนวนผู้มีสิทธิลดลงทุกปี อาจส่งผลให้กองทุนฯ ล้มละลาย จะกระทบงบประมาณของ พร. กระทบต่อการรักษาโรคร้ายแรง
ข้อเสนอเพิ่มเติม
ทางการเศรษฐกิจฯ จะพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับสิทธิ ถ้ามีการเรียกร้องสิทธิ์ อยากให้เรียกร้องงบประมาณควบคู่กันไปด้วย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิด้านสุขภาพ
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ค.ศ. 1966
- อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 (CRC)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
- ประกาศรับรองสิทธิผู้ป่วย
⦁ เรื่องสุขภาพไม่ใช่เพียงเฉพาะบุคคลแต่เป็นเรื่องสังคม เงินบริการสาธารณสุข มาจากเงินภาษี ทางตรงและทางอ้อม
⦁ ในอดีต คำนิยาม ผู้ที่มีสิทธิ ได้แก่ บุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านในพื้นที่ จังหวัดที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ทะเบียนบ้าน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ทะเบียนบ้านที่เป็นคนไทย มีสิทธิอาศัยถาวรในประเทศไทย ทร 14 และ
2. กลุ่มที่มีสิทธิอาศัยชั่วคราวในประเทศไทย
⦁ ต่อมา มีการตีความ ผู้ที่มีสิทธิ ใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2549 “กรณีสิทธิการได้รับการรักษาพยาบาลตามโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น ใช้ได้สำหรับผู้ที่ได้รับสัญชาติไทยเท่านั้น….” และมีการเปลี่ยนแปลงสโลแกน จาก “ 30 บาทรักษาทุกโรค” เป็น “30 บาท คนไทยห่างไกลโรค”
⦁ มีปัญหาสาธารณสุข
- ขอสงเคราะห์ โดยการ ขอฟรี ร่วมจ่าย หรือเป็นหนี้
- หาเงินมาสนับสนุน จาก NGOs UNHCR หรือกองทุนคืนสิทธิ์
⦁ แนวทางในการแก้ไขปัญหา เรื่องการตีความ
- การตีความผู้มีสิทธิ มาตรา 5 ให้ได้เท่าเดิม มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- ตีความให้ได้ทุกกลุ่ม ได้ทุกคน
- ฟ้องศาลปกครอง ยึดตาม คำสั่ง สปสช. หรือ การปฏิบิงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
- ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขัดรัฐธรรมนูญ
- แก้ไข พ.ร. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ครอบคลุม
ส่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มี การแต่งตั้ง คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธาน และมี “อุ๊งอิ๊ง” แพรทองธาร ชินวัตร เป็นรองประธานฯ ที่สำคัญ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นกรรมการและเลขนุการ ซึ่งจะมีการประสานงานกับคณะกรรมการฯ ชุดนี้ต่อไป

คำนิยาม ผู้ทรงสิทธิ จะต้องครอบคลุมทุกคน ทุกกลุ่ม การขาดความเข้าใจผู้ปฎิบัติงานในสถานพยาบาล ความเข้าใจของคนในสังคมยังไม่เท่ากัน โดยเฉพาะความเข้าใจกลุ่มที่ยังไม่มีสถานะทางทะเบียน นักการเมือง ส.ส. อาจจะยังไม่เข้าใจปัญหาเชิงประเด็น จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของปัญหาที่จะต้องสะท้อนปัญหานี้ขึ้นมา ควรจะมีการตั้งคณะทำงานในการแก้ไขปัญหา ทั้งจากภายในสภาฯ และภายนอกสภาฯ มีพื้นที่เรียนรู้ด้วยกัน โดยเฉพาะให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็น มาให้ความรู้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และหากระบวนการในการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม มีการประสานกับทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสัญชาติ และสถานบุคคล เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย รวมถึงมีการพูดคุยในระดับ กรรมการธิการ การตีความใหม่ของคณะกรรมการกฤษฎีกา มาจาก มติคณะรัฐมนตรี ก็ต้องกลับไปแก้ไขที่มติคณะรัฐมนตรี
ถึงแม้ว่า ส.ส.มานพ จะเคยทำงานกับองค์กรภาคประชาสังคม แต่ทำงานในประเด็นสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ทำงานประเด็นสัญชาติหรือสถานะบุคคล ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องศึกกาเรียนรู้ และทำความเข้าใจประเด็นเหล่านี้มากขึ้น
อีกประการหนึ่ง เราต้องเข้าใจ ข้าราชการ มีข้อจำกัด เพราะเขาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่ทำตามคำสั่ง นโยบายเบี้องบน จะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ก็สุ่มเสี่ยงโดย มาตรา 157 ทาง ส.ส. มานพ ก็จะใช้บทบาททางสภาฯ อย่างเต็มที่ และจำเป็นต้องมีภาคีเครือข่ายร่วมหนุนเสริมซึ่งกันและกัน
ข้อเสนอที่เราพูดถึงตอนนี้ ไม่ได้มีปัญหาที่หลักการด้านสิทธิ แต่ติดปัญหาด้านข้อกฎหมายมากกว่า จะต้องมีการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำมาซึ่งการตั้งคณะทำงานในการแก้ไขปัญหาเชิงประเด็น

แถลงการณ์ ข้อเสนอเชิงนโยบายของชนเผ่าพื้นเมืองและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล เรื่องการทบทวนนิยามผู้ทรงสิทธิรับบริการสาธารณสุข ในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชรติและยืนข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ต่อผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)