“ชาติพันธุ์ ภาษา มานุษยวิทยา”

มีคำศัพท์มากมายที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง ชนเผ่าพื้นเมือง ชาวเขา ชาวเล ชนกลุ่มน้อย คนพลัดถิ่น กลุ่มเปราะบาง แต่ละคำมีความหมายและบริบทที่แตกต่างกัน “ชาติพันธุ์” หมายถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในสังคมเดียวกัน มีวัฒนธรรม ภาษา ประเพณี ความเชื่อ และวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ ร่วมกันกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน การอ้างความเป็นกลุ่มหรือพวกเดียวกัน  กลุ่มชาติพันธุ์มีความหลากหลาย แม้จะเป็นกลุ่มเดียวกัน ก็อาจมีความแตกต่างกันในรายละเอียด ความหลากหลายเกิดจากปัจจัยหลายประการ  ภาษาซึ่งอาจสืบทอดภาษาแม่ศาสนา บรรพบุรุษ คือ การมีบรรพบุรุษหรือประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน การกระจายทางภูมิศาสตร์ ที่สามารถเกิดการกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

มโนทัศน์ชาติพันธุ์ด้านมานุษยวิทยาเริ่มขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 เพื่อแทนมโนทัศน์ของคำว่าชนเผ่าหรือเชื้อชาติ ซึ่งคำว่าเชื้อชาติมีนัยยะของการกดขี่ การดูถูก การดูหมื่น ซึ่งทำให้คำว่าเชื้อชาติถูกลดบทบาทไปและแทนที่ด้วยคำว่าชาติพันธุ์ รายละเอียดประกอบ

ผศ.ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

ชนพื้นเมือง (indigenous people)

            ควรเลือกใช้คำว่า “ชนพื้นเมือง” แทนคำว่า “ชนเผ่าพื้นเมือง” เพราะคำว่า “เผ่า” ถือเป็นการระบุเฉพาะเจาะจงที่มากเกินไป ในสังคมเมืองนั้นแฝงไปด้วยนัยยะความห่างไกล ความชายขอบบางอย่างในทัศนของคนเมือง แต่เมื่อมีการขับเคลื่อน พรบ.ที่คุ้มครองชนเผ่าพื้นเมือง กฎหมาย วิจัย และการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆของหลายหน่วยงาน ภายใต้คำว่า ชนเผ่า หน่วยงานที่เข้าไปทำงานในพื้นที่มีการใช้คำนี้เพราะต้องการเข้าไปเชื่อมต่อกับคนในชุมชนของหน่วยงาน จึงเกิดการยอมรับเอามาซึ่งคำว่า “ชนเผ่าพื้นเมือง” มาใช้

            คำจำกัดความของคำว่า “ชนพื้นเมือง” คือ ชนพื้นเมืองเป็นผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมของพื้นที่ มีระบบทางด้านวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจที่โดดเด่นซึ่งมีรากฐานมาจากการครอบครองและใช้ประโยชน์จากดินแดนของพวกเขาตามประวัติศาสตร์ พวกเขารักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี และวิถีชีวิตที่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดของดินแดนบรรพบุรุษมีความเชื่อมโยงที่แข็งแกร่งกับดินแดนพื้นที่และที่ดินเฉพาะ เนื่องจากดินแดนเป็นแหล่งที่มาของจิตวิญญาณและพลังสำหรับชนพื้นเมือง อาจต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินที่อยู่ของบรรพบุรุษมีการตั้งถิ่นฐานและมีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด หรืออาจเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทาสงความเชื่อ หรือเป็นพื้นที่ที่เกิดเรื่องราวหรือตำนาน

ชนเผ่าพื้นเมืองจะเป็นที่ยอมรับของผู้คนรอบข้าง คนพื้นที่ หรือผู้คนในบริบทนั้นๆว่าเขาเป็นผู้ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มักมีสิทธิ์ที่จะได้รับการยอมรับทางกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นปฏิญญาสหประชาชาติด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มาทีหลัง เพราะอาจมึงการเสียสิทธิบางอย่างของกลุ่มชนดั้งเดิม เมื่อกลุ่มชนใหม่มีการใช้ทรัพยากรของชนดั้งเดิมหรือการนำเอาการปกครองของชนกลุ่มใหม่เข้าไปในพื้นที่ จนอาจนำไปสู่การเบียดขับกลุ่มชนดั้งเดิมในที่สุด ซึ่งในปัจจุบันจึงได้มีกฎหมาย หรือพระราชบัญญัติขึ้นมารองรับกลุ่มชนดั้งเดิมที่เสียสิทธิ์ไป ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศและมีรายละเอียดที่ครบถ้วน

ผศ.ดร.ดำรงพล อินทร์จันทร์ ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ความแตกต่างระหว่าง ชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง

หากมองจากรากฐานทางประวัติศาสตร์และดินแดน ในแง่ของกลุ่มชาติพันธุ์ อาจเป็นรุ่นลูกหลานของการอพยพและการตั้งถิ่นฐานต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้อยู่อาศัยเดิมของพื้นที่ที่พวกเขาอยู่ในปัจจุบัน แต่ชนพื้นเมืองต้องผูกกับพื้นทีดินแดนที่อยู่อาศัยเดิมที่มีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ของชนเผ่าพื้นเมือง

ชาติพันธุ์มีความโดดเด่นของการมีวัฒนธรรมร่วมและลักษณะเหล่านี้สามารถเปลี่ยนไปตามปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อสังคมอื่นๆและบริบทรอบข้าง แต่ชนพื้นเมืองจะธำรงรักษาไว้ซึ่งการปฏิบัติทางวัฒนธรรมและโครงสร้างของสังคมที่โดเด่น ซึ่งมักแตกต่างจากสังคมหลัก ในบางกลุ่มที่มีความโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรมของตนเองที่สูงมาก อาจมีระบบการปกครองที่ของตนเอง มีสภาหมู่บ้านของตนเอง หากมีปัญหาเกิดขึ้น ผู้ใหญ่บ้านไม่มีอำนาจเบ็จเสร็จในการตัดสินใจ โดยจะต้องหารือกับสภาในหมู่บ้านช่วยกันตัดสิน

สถานะทางกฎหมายและการเมือง กลุ่มชาติพันธุ์อาจไม่มีสถานะทางกฎหมายหรือการคุ้มครองเฉพาะ เพียงเพาะชาติพันธุ์ แต่ชนเผ่าพื้นเมืองมักได้รับการคุ้มครองและได้รับสิทธิ์ที่ได้รับการยอมรับจากกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้การคุ้มครอง

การเชื่อมดินแดน กลุ่มชาติพันธุ์อาจไม่มีการเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ด้านประวัติศาสตร์เดียวกันกับดินแดนเฉพาะ แต่ชนพื้นเมืองมีความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งกับดินแดนบรรพบุรุษของตน การทำความเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการประเมินวิธีการที่กลุ่มคนต่างๆระบุตัวตนและความสัมพันธ์ของพวกเขากับบริบททางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่มีต่อชุมชนของตนเอง

ความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์กับเชื้อชาติ

            คำว่าเชื้อชาติ มีการสะท้อนของลักษณะเชิงดูถูกในด้าน สีผิว ลักษณะทางด้านร่างกาย ซึ่งแฝงไปด้วยทัศนคติเชิงลบ แต่ในคำว่าชาติ เป็นลักษณะที่สะท้อนโดยกลุ่มทางสังคมซึ่งมีลักษณะเชิงบวก ในการเปลี่ยนผ่าน นักมานุษยวิทยามองว่า หากมองคำว่าเชื้อชาติมีลักษณะเชิงลบ สำหรับการระบุตัวบุคคลว่าเป็นเชื้อชาติไหน จึงควรที่จะคิดคำเพื่อใช้เรียกแทน จึงเริ่มมีการใช้คำว่าชาติพันธุ์ขึ้น เพราะเป็นคำที่กว้าง และครอบคลุมมากกว่าอาจะหมายถึงกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม กลุ่มที่อพยพมาจากที่อยู่ใหม่ หรือกลุ่มที่อยู่ที่ไหนก็ได้ คำว่าชาติพันธุ์จึงได้รับการยอมรับมากขึ้นและปราศจากการดูถูก

มโนทัศน์ เชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ในทางมานุษยวิทยา

            ชนเผ่า หรือเผ่าพันธุ์ ในภาษาละตินหมายถึง คนป่าเถื่อนที่อยู่รอบนอกอาณาจักร แรดคริฟฟ์ บราวน์ (Radcliffe-Brown)  เมอร์ดอค (Merdock) ฟอร์เตส์(Fortes) และชาร์ลิน (Sahlin) กล่าวว่าเป็นคนที่มีอะไรบางอย่างร่วมกัน ลักษณะทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน อื่นๆเช่น ลักษณะองค์กรทางการเมือง หรือลักษณะองค์กรเศรษฐกิจ

            ชาร์ลิน (Sahlin) อธิบายว่าชนเผ่า หรือเผ่าพันธุ์ มีความหายแตกต่างจากสหประชาชาติ ด้วยชุมชนต่างๆมิได้ถูกรวบรวมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติ และไม่มีพรหมแดนทางการเมืองที่ตายตัว เพราะรับคิดเรื่องอาณาบริเวณเหมือนรัฐประชาชาติในปัจจุบัน การจัดจำแนกสังคม เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของโลก ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดคำว่า อคติทางชาติพันธุ์ คนดั้งเดิม คนเรียบง่าย และอาจมีความหมายทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ สิ่งสำคัญคือใช้บอกความแตกต่างในความหมายเดียวกับที่เราใช้ในปัจจุบัน คือคำว่ากลุ่มชาติพันธุ์ และเกี่ยวของในเชิงกฎหมายและการเมืองอีกด้วย

            สรุปได้ว่า แนวคิด Tribe ใช้จำแนกกลุ่มชนต่างๆโดยอาศัยลักษณะทางวัฒนธรรมร่วมบางอย่างแต่มีนัยยะว่ากลุ่มคนเหล่านี้ไม่ใช่ชาวตะวันตก เช่น ชาวยุโรป หรืออเมริกัน และมักเป็นแนวคิดที่ไม่มีรัฐ

เชื้อชาติ หรือ ชนชาติ

นักมานุษยวิทยาให้แนวคิดนี้ใช้จำแนกชนใน 2 ความหมาย คือ

ความหมายทางชีวภาพของชนชาติ

ความหมายทางสังคมของชนชาติ

            เกิดขึ้นครั้งแรกโดย บูฟอง (Buffon) นักธรรมชาติวิทยา ให้ความหมายว่าชนชาติคือกลุ่มประชากรย่อย ของสปีชี่ เนื่องจากมนุษย์มีสปีชี่เดียวจึงต้องจำแนกออกเป็นชนชาติ ซึ่งดูจากโครงสร้างร่างกาย ดูจากความจริงที่ปรากฏได้ในเชิงประจักษณ์ หรืออาจะไม่ได้ปรากฏแต่สามารถจำแนกได้ เช่น สีผิว ภายหลังยูเนสโก้ ออกแถลงการณ์หลายฉบับเกี่ยวกับความเห็นเรื่องชนชาติในวาระต่างๆ ว่ามนุษยชาติมีสปีชี่เดียวคือ Homo sapiens เป็นผลมาจากกระบวนการทางวิวัฒนาการที่มีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงอพยพย้ายถิ่น และการเลือกสรรค์ทางธรรมชาติ กระบวนการนี้คือสิ่งที่จำเป็นต้องจำแนก และในทางชีวภาพคือการวัดความแตกต่างกันในเรื่องความถี่ของหน่วยกรรมพันธุ์ระดับยีนส์ จึงเกิดคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คือการฆ่าล้างลึกจนถึงระดับสูญพันธุ์ระดับยีน สงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและชีวภาพอย่างซับซ้อน เหตุการณ์นี้กระตุ้นให้เกิดการ hinterfragen เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเชื้อชาติ อคติ และความเท่าเทียมกัน นักวิชาการและนักคิดในปัจจุบันยังคงถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้ต่อไป

“ความสามารถและความฉลาดของมนุษย์เป็นผลมาจากยีนในร่างกาย

ซึ่งความต่างเชื้อชาติจะมียีนที่แตกต่างกัน การแบ่งมนุษย์ด้วยเหตุผลทางชีววิทยานี้

นำไปสู่การสร้างกฎเกณฑ์ที่ว่า มนุษย์กลุ่มหนึ่งดีที่สุด ขณะที่กลุ่มอื่นๆ แย่กว่า หรือต่ำกว่า”

                                    Hereditary Genius by Francis Galton (1822-1911)

คำอธิบายเหล่านี้นำไปสู่การสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้น เพราะเป็นเรื่องของการถูกกีดกัน ความไม่เท่าเทียม จนกลายเป็นการด้อยค่าคนอื่นๆนั่นเอง ในศตวรรษที่18 ได้มีการพยายามเปลี่ยนแปลงการด้อยค่าคนอื่นให้น้อยลงโดยการหาคำอื่นๆที่ใช่เรียก และถูฏผนวกเข้ากับเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายความแตกต่างทางด้านร่างกาย

ชนเผ่าพื้นเมือง นักมานุษยวิทยาให้คำจำกัดความว่า “ชนพื้นเมือง” หมายถึงบุคคลที่มีบางสิ่งบางอย่างที่มีถิ่นกำเหนิดหรือมาจากสถานที่จำเพาะ หรือผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เฉพาะแห่ง และถูฏนำมาใช้โดยผุ้นำชาวอะบอริจินในช่วงทศวรรษ 1970 หลังการเกิดขึ้นของขบวนการสิทธิของชนพื้นเมืองทั่วโลกเพื่อเป็นแนวทางในการระบุและรวบรวมชุมชนของตนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นตัวแทนของพวกเขาให้เวทีทางการเมืองต่างๆ เช่น สหประชาชาติ เมื่อรวมกับคำว่าความรู้ และผู้คน แล้วมีความหมายถึงมุมมองทางสังคมศาสตร์ ตลอดจนจุดยืนทางปรัชญาและอุดมณ์การ ซึ่งขึ้นอยู่กับการยอมรับบทบาทของความรู้ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เกิดจากการขยายตัวของยุโรป

เวิร์ดแบงก์ นิยามชนพื้นเมืองว่า สามารถกำหนดในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์จำเพาะโดยมีลักษณะ เป็นกลุ่มที่มีความผูกพันเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับดินแดนบรรพบุรุษและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ การนิยามตนเองและนิยามโดยผู้อื่นในฐานะสมาชิกของกลุ่มวัฒนธรรมที่แตกต่าง มีภาษาพื้นเมือง ที่มักจะแตกต่างจากภาษาประจำชาติ การมีอยู่ของสถาบันทางสังคมและการเมืองตามธรรมเนียมประเพณี และการเกษตรกรรมดำเนินวิถีชีวิตโดยเน้นยังชีพเป็นหลัก และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการระบุตัวตนของกลุ่มตนเอง

ซึ่งในฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของ วัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

นี่คือสิ่งที่เห็นได้จัดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ เพราะแต่ละกลุ่มเองก็อยากที่จะสร้างกลไกล อัตลักษณ์ ในการขับเคลื่อน แต่ในแง่การจัดการของรัฐเอง จะสามารถยอมรับความไม่มั่นคงของสิ่งที่จะเกิดข้อเรียกร้องตามมาของความเป็นกลุ่มเหล่านั้นหรือไม่

บทความนี้เกิดจากงานเสวนาวิชาการเรื่อง มโนทัศน์การเมือง และรากเหง้าของชนเผ่าพื้นเมืองและชาติพันธุ์ในประเทศไทย 4เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 67 ที่ผ่านมาซึ่งจัดขึ้นที่ที่คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทความโดย ภาศกร ลุมไธสง