ผิดหวัง! คำตอบตามกลไก UPR รัฐเมินสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง

ชนเผ่าพื้นเมืองผิดหวัง  หลังจากทราบผลการรายงานการรับข้อเสนอจากกลไก UPR อย่างเป็นทางการ รัฐไม่ยอมรับสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองโดยตรง บ่งบอกถึงการขาดความเข้าใจในวิถีวิตของชนเผ่าพื้นเมือง

วันที่ 13 กันยายน 2559 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้แทนรัฐบาลไทยนำโดยนายชาญเชาว์  ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรมและหัวคณะผู้แทนไทยที่เดินทางไปรับฟังข้อเสนอจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 11 พฤษภา 2559 ที่ผ่านมา ได้แถลงผลการพิจารณารับข้อเสนออย่างเป็นทางการดังนี้

ประเทศไทยได้รับข้อเสนอทั้งสิ้น 249 ข้อ
ประเทศไทยประกาศรับข้อเสนอโดยทันที 181 และนำกลับมาพิจารณาในรประเทศ จำนวน  68 ข้อ  ในวันนี้แถลงรับข้อเสนอเพิ่มเติมอีก  6 ข้อ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 ได้แก่

1. Consider ratifying ILO Convention No.189 (Philippines)
พิจารณาการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๘๙ (ฟิลิปปินส์)

2. Create an independent body to investigate all torture allegations, including in Thailand’s Deep South, and bring perpetrators to justice (Canada)
จัดตั้งหน่วยงานอิสระเพื่อตรวจสอบข้อกล่าวหาการทรมานทั้งหมด ซึ่งรวมถึงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม (แคนาดา)

3. Commute the death sentences with a view to abolishing the death penalty (France)
ลดระดับการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิตต่อไป (ฝรั่งเศส)

4. In line with the rules 83-85 of the UN Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners, “the Nelson Mandela rules”, to create an external, independent inspection body that has access to all categories of prisoners in all places of detention that are under the Ministry of Justice (United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland)
ดำเนินการตามข้อ ๘๓ – ๘๕ ของมาตรฐานขั้นต่ำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง หรือ “ข้อกำหนดแมนเดลา” ซึ่งกำหนดให้จัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายนอกที่เป็นอิสระที่สามารถเข้าถึงผู้ต้องขังทุกประเภทในเรือนจำทุกแห่งที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงยุติธรรม (สหราชอาณาจักร)

5. Eliminate the legal provision that states that the age limit of marriage could be lowered to 13 years old in cases where children were sexually abused and could consequently marry the perpetrators (Timor-Leste);[1]
ยกเลิกข้อบทของกฎหมายที่ระบุว่าสามารถปรับลดอายุขั้นต่ำของการสมรสให้เป็น ๑๓ ปี กรณีที่เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศและสามารถสมรสกับผู้ที่ล่วงละเมิดได้ (ติมอร์-เลสเต)

6. Further address all forms of gender-based violence and abuses by revising the relevant provisions of the Penal Code, Criminal Procedure Code and Domestic Violence Victim Protection Act (Kyrgyzstan)
ดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรงและการกดขี่ทางเพศในทุกรูปแบบเพิ่มเติมด้วยการทบทวน
ข้อบทที่เกี่ยวข้องในประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (คีร์กีซสถาน)

อย่างไรก็ตาม สำหรับชนเผ่าพื้นเมืองที่ลุ้นให้รัฐบาลยอมรับข้อที่ จากประเทศเซียร่าลีโอน ที่เสนอไว้ว่า “ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๖๙ และ ๑๘๙” “Ratify ILO Convention 169 and 189 (Sierra Leone)”  โดยเฉพาะ ILO 169 นั้น ได้ระบุถึงสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองโดยตรง