จากกรณีการวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส อายุ 17 ปี แกนนาเยาวชนชาวลาหู่ นักกิจกรรมทางสังคม และประธานเครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา โดยถูกทหารสังกัดกองร้อยทหารม้าที่ 2 บก.ควบคุมที่ 1 หน่วยเฉพาะกิจกรรมทหารม้าที่ 5 ที่ตั้งจุดตรวจค้นยาเสพติดบริเวณด่านตรวจบ้านรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ วิสามัญฆาตกรรม และได้จับกุมเพื่อน (นายพงศ์นัย แสงตะล้า อายุ 19 ปี) ไปหนึ่งคนด้วย
เหตุการณ์ดังกล่าว ได้สร้างความอาลัยและสะเทือนใจแก่เพื่อนนักกิจกรรมทางสังคม เครือข่ายเด็กและเยาวชน ภาคีหน่วยงานรัฐและองค์กรที่ทางานปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากนายชัยภูมิเป็นเด็กเรียบร้อย ไม่ชอบความรุนแรง เป็นเยาวชนที่มีความเสียสละทุ่มเทเวลาส่วนตัวในการทากิจกรรมเพื่อชุมชน เพื่อเด็กไร้สัญชาติ ได้มีโอกาสในสังคม ความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของตัวเองจึงได้กลายเป็นแกนนาเยาวชน ทั้งในการเรียนยังเป็นนักเรียนที่เรียนดี ได้อันดับที่ 2 ในชั้นเรียนและยังเป็นนักกิจกรรมที่ออกมาต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิและสถานะให้กับผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทย รวมทั้งยังเป็นศิลปินชาวลาหู่ (นักดนตรีและแต่งเพลงที่ช่วยสะท้อนปัญหาเด็กไร้สัญชาติจนเป็นที่ยอมรับ) ชัยภูมิมีนิสัยที่อ่อนโยน รักเพื่อน พี่น้อง ชอบออกค่ายอาสา และมีผลงานในการทาหนังสั้นส่งประกวดและถูกเผยแพร่ทางสื่อสาธารณะมากมาย นับได้ว่าเป็นเยาวชนที่เป็นแบบอย่างของชนเผ่าพื้นเมือง ที่มีความเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง
ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ทหารได้วิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส ซึ่งยังเป็นเยาวชนนั้น ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่กระทาเกินกว่าเหตุ โดยเฉพาะประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองเด็ก เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เป็นต้น ซึ่งได้กาหนดมาตรการตางๆ ที่สาคัญเพื่อคุมครองเด็กทั้งทางดานรางกาย จิตใจ ชื่อเสียง หรือสิทธิประโยชน์อื่นของเด็ก เชน หามบุคคลใดกระทำการอันเปนการทารุณกรรมเด็ก และกำหนดให้มีการปกปอง คุมครองเด็กไทยทั้งหมด ไมวาพวกเขาจะมีสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย มีชาติพันธุหรือนับถือศาสนาใด และในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่ประเทศไทยได้ลงนามรับรองไว้ ยังได้เน้นย้าว่า “จะไม่มีเด็กคนใดได้รับการทรมาน หรือถูกปฏิบัติ หรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต่ำช้า จะไม่มีการลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตที่ไม่มีโอกาสจะได้รับการปล่อยตัว”
เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) เป็นเครือข่ายที่ทางานด้านการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน วิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง และภาคีองค์กรและเครือข่ายที่ทางานเพื่อความเป็นธรรมในสังคมไทย ขอแถลงท่าทีและเรียกร้องดังต่อไปนี้
1. เราขอประณามการกระทาที่เจ้าหน้าที่ทหารที่ได้วิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส ถือเป็นการกระทาโหดร้ายป่าเถื่อนและไร้มนุษยธรรม
2. เราขอเรียกร้องต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะ “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนายชัยภูมิ ป่าแส ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรมในครั้งนี้ โดยเร่งด่วน
3. ขอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนมีมาตรการและกลไกในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อเหตุการณ์ และคืนความเป็นธรรมให้กับผู้เสียชีวิตและญาติผู้ตายและเพื่อนผู้ตายที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ในขณะนี้ อย่างเร่งด่วน
คชท.ร่วมกับภาคีองค์กรและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จะได้ติดตามความคืบหน้าในการดาเนินการตรวจสอบตามข้อเรียกร้องข้างต้น และยินดีสนับสนุนการปฏิบัติการที่ดีของบุคคลและหน่วยงานทุกภาคส่วน
เชื่อมั่นในคุณงามความดีของนายชัยภูมิ ป่าแส และกระบวนการยุติธรรม
21 มีนาคม 2560
รายนามภาคีองค์กรและเครือข่ายที่ร่วมลงนามแถลงการณ์
1) เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)
2) เครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง
3) เครือข่ายสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน (Sangsan)
4) เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อความเท่าเทียมระหว่างเพศ (CSOs for Gender Equality)
5) Rainbow dream group
6) เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้
7) สภาชาติพันธุ์ชาวเล ชนเผ่ามอแกน มอแกลน อุรักลาโว้ย
8) เครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย
9) เครือข่ายสื่อสร้างสรรค์ แม่ฮ่องสอน
10) เครือข่ายไทใหญ่
11) ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูนิเวศวัฒนธรรมชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์
12) โครงการพัฒนาพื้นที่สูง (UHDP)
13) มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ (ส่งเสริมโอกาสผู้หญิง)
14) มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม
15) ศูนย์เพื่อนหญิงอานาจเจริญ
16) สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ
17) สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย
18) เครือข่ายปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเผ่าพื้นเมือง
19) มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์
20) เครือข่ายผู้หญิงใจอาสาเมือง
21) ชมรมอาสาสมัครกฎหมายเพื่อผู้หญิง
22) มูลนิธิพิทักษ์สตรีและเด็ก
23) เครือข่ายพิทักษ์สิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์
24) มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์
25) เครือข่ายการทางานด้านเด็กและเยาวชน 58 องค์กร
26) สมาพันธ์เพื่อช่วยเหลือชาวมอญผู้ประสบภัยตามแนวชายแดน
27) เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี
28) มูลนิธิภูมิปญญาชนเผาพื้นเมืองบนพื้นที่สูง
29) เครือขายสื่อชนเผาพื้นเมือง
30) มูลนิธิชนเผาพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดลอม
31) มูลนิธิพัฒนาความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองแห่งเอเชีย (AIPP Foundation)